ออมสินเผยแนวโน้มดอกเบี้ยปี’65 มีทิศทางขาขึ้น คาดปลายปี กนง.ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น แต่ไม่กระทบลูกค้ารายย่อยออมสิน 3.5 ล้านคน ชี้คิดรูปแบบอัตราดอกเบี้ยไว้แบบคงที่แล้ว
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปี 2565 ทั่วโลกอยู่ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น เห็นได้จากตลาดพันธบัตรทั่วโลกที่ผลตอบแทนมีการปรับขึ้นมาล่วงหน้าแล้ว หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ส่งสัญญาณในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประเทศไทย ปัจจัยที่มีผลต่อดอกเบี้ยจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เรื่องของสภาพคล่องในตลาดเงินของประเทศ และนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
ทั้งนี้ หากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ก็จะทำให้สถาบันการเงินมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและสินเชื่อตามไปด้วย ซึ่งเชื่อว่าในส่วนของประเทศไทยจะเริ่มเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี 2565 อย่างไรก็ดี หากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น ลูกค้าของธนาคารออมสินก็จะไม่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อย 3.5 ล้านราย ที่มีการเข้าสู่มาตรการช่วยเหลือทางการเงินในช่วงโควิด-19 เนื่องจากมาตรการสินเชื่อเป็นรูปแบบคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ และเป็นสินเชื่อระยะสั้น 3-5 ปี
“ธนาคารได้คาดการณ์แนวโน้มในระยะต่อไปหลังโควิด-19 คลี่คลาย ดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น ดังนั้นในการออกมาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้กับรายย่อย จึงออกแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ เพื่อดูแลไม่ให้ผู้กู้ได้รับผลกระทบจากภาระดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารออมสินให้จะประมาณ 3.99-4.99% ต่อปี”
นายวิทัยกล่าวว่า และการดำเนินงานในปี 2565 นี้ ออมสินยังเดินหน้าพัฒนาการปล่อยสินเชื่อผ่านระบบดิจิทัล (Digital Lending) หลังจากปีที่ผ่านธนาคารได้มีการนำร่องปล่อยสินเชื่อให้กับผู้กู้ที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อฉุกเฉินผ่านแอปพลิเคชั่น MyMo ซึ่งสามารถปล่อยกู้ได้แล้วกว่า 1.5 ล้านคน และยังเปิดให้ SMEs เข้ายื่นขอปรับโครงสร้างหนี้ผ่านแอปพลิเคชัน MyMo ได้ด้วย
“ในปี 2565 จะขยายการปล่อยสินเชื่อปกติให้กับลูกค้ารายย่อยทั่วไป โดยจะเร่งเชื่อมระบบข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบพิจารณาการปล่อยสินเชื่อ (Alternative Data) เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มลูกค้ารายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินในระบบได้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่เคยมีประวัติการกู้มาก่อน ซึ่
อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance