พระนางพญา กรุวัดราชบูรณะ พิษณุโลก
พระปรีชาวุฒิสาสน์ วุฑฒิโก เลขานุการเจ้าอาวาส ผู้ค้นพบบอกว่า เมื่อประมาณต้นเดือนเมษายน 2553 ได้นำพระและเณรมาช่วยกันพัฒนาวัดตามปกติ เพื่อทำความสะอาดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรมวันสงกรานต์ที่ใกล้จะถึง โดยก่อนหน้านี้บริเวณดังกล่าวมีต้นมะม่วงที่ยืนต้นตาย จึงได้ชักชวนพระเณรให้ช่วยกันขุดรากถอนโคนต้นมะม่วงออกเสียเพื่อเปิดพื้นที่ให้กว้างก่อนที่จะพัฒนาเป็นลานกว้างสำหรับจัดกิจกรรมก่อกองทราย
ระหว่างที่ขุดรากเหง้าของต้นมะม่วงลึกลงไปประมาณ 1 เมตร จอบเสียมขุดไปโดนปากไหจึงได้ขุดอย่างระมัดระวัง พบว่าเป็นไหที่บรรจุพระเครื่องอยู่จำนวนมาก จึงได้รีบแจ้ง พระครูสิทธิธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ ทราบ
พระเณรจึงได้ช่วยกันขุด เบื้องต้นพบไหบรรจุพระจำนวน 5 ไห และจากสอบถามเซียนพระและคนเก่าแก่ในพื้นที่ คาดว่าน่าจะเป็นพระเครื่องที่พระครูอนุโยค ศาสนกิจ หรืออาจารย์อ่ำ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด จัดสร้าง และฝังไว้เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2469 หรือกว่า 80 ปีที่ผ่านมา
ต่อมาในปี 2553 ทางวัดได้นำออกมาให้ประชาชนได้เช่าบูชา จำนวน 3 ไห และปี 2554 ได้นำออกมาให้เช่าบูชาอีก 2 ไห
ลักษณะพิมพ์
พิมพ์ขององค์พระจะมีทั้งเข่าตรง และเข่าโค้ง เป็นพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
สีขององค์พระ
สีขององค์พระเท่าที่พบจะมี 3 สี หลักๆ คือ
- สีดำ (พบน้อยมากๆ)
- สีน้ำตาล อมดำ (สีมอย พบ 1 ใน 10 โดยประมาณ)
- สีเหลือง อมส้ม (มีบางองค์ที่สีจะซีดขาวแต่พบน้อยมากเช่นกัน)
จำนวนพระที่พบ
จำนวนที่พบไม่แน่ชัด แต่จากการประมาณรวมทั้ง 5 ไหน ไม่น่าจะเกิน 10,000 องค์
ลักษณะเด่นชัดของพระชุดนี้
1) พิมพ์พระซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
2) เนื้อหาและมวลสาร จะมีแร่มงคลต่างๆ อยู่ในส่วนผสมขององค์พระ และจากการที่ถูกฝังมานาน ทำให้เนื้อดินแกร่ง และหดตัว จึงทำให้มวลสารต่างๆ ลอยขึ้นจากองค์ (แร่ลอย)
3) 3 ไหแรก ที่นำออกให้เช่าบูชา เมื่อปี 2553 ผิวขององค์พระจะค่อนข้างมัน เพราะมีคราบเทียนหอมเคลือบอยู่ค่อนข้างหนา ทำให้ผิวมันและมีกลิ่นเทียนที่หอมมาก
ส่วน 2 ไห ที่นำออกมาให้บูชา ปี 2554 ผิวองค์พระจะแห้ง กร่อน มีคาบเทียนติดน้อยมาก กลิ่นเทียนจึงจางน้อยกว่า
4) รอยนิ้วมือด้านหลังจะปรากฎชัดในบางองค์ แต่พบไม่มากนัก
จุดสังเกตพระนางพญา กรุวัดราชบูรณะ พิษณุโลก พิมพ์เข่าโค้ง (ด้านหน้า)
1. พระพักตร์จะมนเหมือนไข่
2. ปลายเกศเป็นเส้นแหลมคล้ายเสาอากาศ โดยมากจะตรงไม่เอียงเฉ
3. เส้นพระศอ (คอ) จะเรียว คม
4. ซอกไหลจะเว้าเป็นร่องลึกโค้งมน
5. ข้อศอกจะโค้งงอเล็กน้อย
6. ฐานบริเวณเข่าจะโค้งมน
7. พระกรจะเรียวแหลมและโค้งบริเวณข้อพระกร
จุดสังเกตพระนางพญา กรุวัดราชบูรณะ พิษณุโลก พิมพ์เข่าตรง (ด้านหน้า)
1. พระพักตร์จะมนเหมือนไข่
2. ปลายเกศเป็นเส้นแหลมคล้ายเสาอากาศ โดยมากจะตรงไม่เอียงเฉ
3. เส้นพระศอ (คอ) จะเรียว คม บางองค์เห็นพระศอชัดเจน บางองค์จะเลือนลางขึ้นอยู่กับสภาพ
4. ซอกไหลจะเว้าเป็นร่องลึก โค้งมน เส้นสังฆาฏิจะไม่เด่นชัด มีเพียงบางองค์ที่เด่นชัด (ซึ่งมีน้อยมาก)
5. ข้อศอกจะโค้งงอเล็กน้อย
6. ฐานบริเวณเข่าจะโค้งมน
7. พระกรจะเรียวแหลมและโค้งบริเวณข้อพระกร
จุดสังเกตพระนางพญา กรุวัดราชบูรณะ พิษณุโลก พิมพ์เข้าโค้ง-พิมพ์เข่าตรง (ด้านหลัง)
ด้านหลังองค์พระ ผิดจะหดตัว มีแร่ลอยขึ้นจากตัวองค์พระ และบางองค์จะมีลายนิ้วมือ
ข้อสังเกตพระเก๊
1. ผิวจะสดใหม่
2. ไม่มีการยุบตัวขององค์พระ (ต้องยุบทั้งองค์ ไม่ใช่ยุบเฉพาะด่านหลังหรือด้านหน้า)
3. รอยตัดจะคม ไม่มีการสึกก่อน
วงการเซียนปั่นราคา“พระนางพญา”กรุวัดราชบูรณะ
พิษณุโลก - พระนางพญากรุแตกของวัดราชบูรณะราคาพุ่งพรวดกลายเป็นที่ต้องการหลังกรมศิลปากรสั่งตรวจสอบ-เซียนพระแห่ขอเช่ากันเต็มวัด ล่าสุดราคาปล่อยเช่า 2,000-3,000 บาท และหากส่งต่อกรุงเทพฯ 10,000 บาท
(21 ก.ค. 2548 ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีกรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลกแตกพบไหดินเผา 3 ใบมีพระเครื่องเป็นพระนางพญาพิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง และพระพุทธชินราชพิมพ์ใบมะยม ล่าสุดช่วงเช้าวันนี้ (21 ก.ค.) บรรดาเซียนพระและประชาชนจำนวนมากยังคงหลั่งไหลจากทั่วสารทิศเพราะเป็นวันหยุดเทศกาลเข้าพรรษา ทำให้บริเวณวัดราชบูรณะหนาแน่นไปด้วยผู้คนและยานพาหนะ ประชาชนจำนวนหนึ่งได้เข้าไปขุดคุ้ยพื้นดินบริเวณเดียวกับคณะกรรมวัดขุดไหขึ้นมา 3 ใบ กระทั่งเจ้าอาวาสวัดราชบูรณะได้สั่งถมดินพร้อมรดน้ำให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบแอบขุดอีก
ขณะเดียวกัน หลังจากกรมศิลปากรได้สั่งให้ทางวัดราชบูรณะหยุดการให้เช่าซื้อพระนางพญา ได้สร้างกระแสพระกรุนางพญาให้เป็นที่ต้องการ เซียนพระที่เช่าบูชาไปเก็บไว้ก่อนหน้านี้เริ่มนำพระออกมาปั่นราคาโดยเริ่มต้นที่องค์ละ 1,000 บาท ถ้าเป็นนอกวัดราคาจะอยู่ที่ 2,000-3,000 บาท เมื่อไปถึงกรุงเทพฯ มีเซียนพระหลายรายระบุว่ามีการปล่อยกันที่ราคา 10,000 บาท นอกจากนี้ยังมีเซียนหัวใสนำพระนางพญารุ่นอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปิดให้เช่าบูชาเพื่อหวังกินกำไรด้วย
พระครูสิทธิธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ เปิดเผยว่า ตอนนี้ทางวัดได้ยุติการให้เช่าบูชาตามที่กรมศิลปากรได้สั่งห้ามแล้ว แต่บรรดาลูกศิษย์ที่มีพระเครื่องรุ่นต่างๆ อยู่ได้เปิดให้เช่าบูชาแก่ประชาชนทั่วไปเช่นเดิม ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคนที่ต้องตกลงกันเอง
ส่วนพระนางพญาที่เหลือบางส่วน ทางวัดจะเก็บไว้มอบให้เป็นของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมากราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุและร่วมทำบุญจำนวน 1 พันบาทเพื่อสมทบทุนสร้างมณฑปของวัด
อย่างล่าสุดนายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกและหัวหน้าส่วนราชการอีกประมาณ 30 คนได้เดินทางมาหาพร้อมมอบเงินจำนวน 8,000 บาทเพื่อสมทบทุนสร้างมณฑป ทางวัดจึงมอบพระนางพญาที่ขุดพบให้ครบทุกคนนายราม วัชระประดิษฐ์ อาจารย์ประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องพระเครื่องคนหนึ่ง เปิดเผยว่า พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง ที่ขุดพบเป็นพระเนื้อดี บล็อกเดียวกับพระนางพญารุ่นแรกๆ เหมือนกับรุ่นเมื่อ 400 ปีก่อนไม่มีกลิ่นดิน
ส่วนผสมเนื้อว่านมวลสารนานาชนิด มีเศษผงทองและเงินประปนอยู่ มั่นใจว่าอายุของพระนางพญาจะไม่ต่ำกว่า 50 ปีแน่ ทั้งนี้เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะรุ่นก่อนที่มรณภาพไปแล้ว ได้จัดสร้างพระโดยนำมวลสารมาจากวัดนางพญาและทำพิธีก่อนบรรจุลงไหแล้วฝังดินไว้ จึงเชื่อว่าเป็นพระนางพญาที่ไม่ใช่ทำขึ้นมาใหม่แน่นอน
#พระนางพญากรุอยุธยา
#พระ นางพญา กรุแตก ปี 53
#นางพญา วัด ราช บูรณะ ปี 2500
#พระ นางพญา กรุวัด ราช บูรณะ 2549
#พระนางพญาทุกพิมพ์
#พระนางพญากรุโรงทอ
#พระนางพญากรุใหม่
#พระกรุ เมืองพิษณุโลก
ข้อมูลอ้างอิง
https:// www.web-pra.com
https:// mgronline.com/local/detail/9480000097602